ต่อม “เอ๊ะ” ต้องทำงานแล้วแหละ… “ฉันจะถูกเลิกจ้างไหม” ?
หากสถานะการทำงานของคุณมี 3 สัญญาณนี้เข้ามา ควรหาช่องทางรายได้อื่น ๆ เตรียมไว้ก่อนเลยครับ
1. Leave without Pay นานแล้วนะ : ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน สัญญาจ้างแรงงานไม่ได้กำหนดหลักการของเรื่องนี้ไว้ครับ แต่ก็เป็นการนำหลักสัญญาทางแพ่งมาบังคับใช้ นั่นคือ ให้ลางานโดยไม่รับค่าจ้าง แต่สถานะลูกจ้างยังคงเดิม เรียกง่าย ๆ ว่า ไม่มีงาน ก็ไม่จ่าย ซึ่งลูกจ้างก็ยอมเพราะยังหวังว่าจะได้กลับมาทำงานอีกครั้ง แต่บริษัทก็ตอบไม่ได้ว่าจะมีงานให้ทำอีกทีเมื่อไร หรืออาจไม่มีเลย !!?
2. ลดเงินเดือน : แม้ตามหลักกฎหมาย นายจ้างไม่มีสิทธิ์ลดเงินเดือน (หากลูกจ้างไม่ยินยอม) แต่ด้วยสถานการณ์แบบนี้ ลูกจ้างส่วนใหญ่ก็พร้อมเข้าใจและยินยอม เพื่อร่วมมือให้บริษัทไปต่อได้
แต่คุณอาจลองพิจารณาในเรื่องยอดขายและการทำงานของบริษัทดูก่อนได้ครับ ถ้ายังเห็นว่า บริษัทยังพอมีรายได้เข้ามา มีการปรับตัวในการหาช่องทางการขายเพิ่มเติม มีการทำคอนเทนต์การตลาดใหม่ ๆ แบบนี้คุณก็จะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปรับตัวและได้พัฒนาตัวเอง ถ้าบริษัทไปต่อได้ เงินเดือนก็กลับมา หรืออาจมีโอกาสได้มากขึ้นด้วยครับ
3. จ่ายเงินเดือนล่าช้า ขอแบ่งจ่าย : เพราะบริษัทอาจต้องนำไปจ่ายในส่วนอื่น (ที่ขอแบ่งจ่ายไม่ได้) แต่ลูกจ้างเองก็อาจมีภาะที่ต้องจ่ายในแบบที่แบ่งจ่ายไม่ได้เหมือนกัน แล้วจะยังไงดีล่ะ ? สัญญาณนี้ ถ้าเกิดขึ้นหลายเดือนติดต่อกัน ก็เสี่ยงสูงมากครับ
อย่างไรก็ตาม 3 สัญญาณนี้ หากเกิดขึ้นก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะถูกเลิกจ้างเสมอไป แต่การเตรียมตัวให้พร้อมตลอดเวลาคือดีที่สุดครับ อาจต้องเหนื่อยเพิ่มขึ้น มีเวลาน้อยลง แต่ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นยังไง คุณจะรับมือกับมันได้สบายๆ เลยครับ
เครดิต : ทนายฝ้าย – ทนายหนุ่ม คลินิกกฎหมายแรงงาน
https://www.facebook.com/labourlawclinique/
มีโอกาสได้งานทันที เพียงสมัครเรซูเม่วันนี้ ฟรี คลิก >> https://jobbkk.com/go/jWldX
Job Fair Online BY JOBBKK 2021 ครั้งที่ 5 สมัครพร้อมสัมภาษณ์กว่า 1,000 อัตรา คลิก >> https://jobbkk.com/go/m6bSN
หางานด่วน เปิดรับกว่า 160,867 อัตรา คลิก >> https://jobbkk.com/go/YtvVO
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved
jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด